สถานที่ : ห้องประชุมโรงแรมลำพวา ตำบลคลองเขิน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม Google Maps
ศ.ดร.ปิยะวัติ บุญ-หลง ผู้ริเริ่ม งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
“คำถามคือเวลาลงชุมชน เราเห็นผลของงานวิจัยจากส่วนกลางทีเป็นประโยชน์กับชุมชนจริง ๆ น้อยมาก พอไม่เห็นก็มาคุยกัน ทำอย่างไรจะให้งานวิจัยมันมีประโยชน์กับชุมชนจริง ๆ เราก็วางฐานงานวิจัยในแบบใหม่ก็คือ ดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ทำวิจัยในลักษณะที่มี Action”
ข้างต้นคือข้อสังเกตสำคัญที่ ศ.ดร.ปิยะวัติ บุญ-หลง ผู้ริเริ่มงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ตั้งขึ้นระหว่างการลงพื้นที่ เพื่อชักชวนชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงการผลิตทางการเกษตรรูปใหม่ กระทั่งนำมาสู่การก่อเกิดของ “งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” ที่ปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 3 ซึ่งกว่า 2 ทศวรรษผ่านไป มีงานวิจัยที่ดำเนินโดยชาวบ้านเกิดขึ้นทั่วประเทศกว่า 4,000 โครงการ สร้างนักวิจัยมากกว่า 31,000 คน และพบว่ากระบวนการที่เกิดในแต่ละพื้นที่ส่งผลให้เกิดการพัฒนาคน ทำให้ชุมชนสามารถแก้ปัญหาและค้นหาทางออกจากปัญหาได้ด้วยตัวเอง ขณะเดียวกันงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นยังเป็นสะพานเชื่อมระหว่างภูมิปัญญาเดิมกับความรู้สมัยใหม่และสถานการณ์ใหม่ได้เป็นอย่างดี
วันนี้ Admin จะพาย้อนไปที่จุดเริ่มต้น เพื่อที่จะก้าวต่อไปในทศวรรษที่ 3 ที่การเดินทางอาจจะไม่เหมือนเดิม
———–
อาจารย์เคยพูดว่า ตอนนั้นเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ฝั่งวิชาการมีงานวิจัยเยอะมาก ผลงานความรู้ที่มีอยู่น่าจะช่วยชุมชนได้ แต่ปรากฏว่าพบน้อยมาก
อาจต้องเล่าย้อนไปไกลอีกหน่อย ก่อนหน้านั้นผมอยู่ที่ส่วนกลาง พบว่างานวิจัยเกษตร หรืออุตสาหกรรมมันก็แก้ปัญหาได้เป็นเรื่อง ๆ เพราะงานพวกนั้นมี user (ผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย) เขาเข้ามาให้โจทย์และเราก็ให้นักวิจัยไปทำ มันก็แก้ปัญหาได้เป็นเรื่อง ๆ แต่ว่าพอเข้าไปดูตามชุมชนไม่เห็นร่องรอยของงานเหล่านี้ ไม่รู้ว่ามันหายไปไหน รวมทั้งงานวัจัยของคนอื่น ๆ ที่เข้าไปทำ ก็ไม่มี
ตอนนั้นตั้งใจไปดูอะไร
ตอนนั้นมีหัวข้ออยู่ในใจคือเรื่อง การปรับปรุงการผลิตทางการเกษตรรูปใหม่ ๆ จะเป็นอย่างไร ก็มีความคิดว่าจะลองชวนชาวบ้านทำ เพราะคิดว่าเรามีคำตอบเยอะแยะ และน่าจะเป็นประโยชน์กับชาวบ้าน ก็ไปดูว่าที่ไหนจะเหมาะ เราเอาเทคโนโลยีไปก่อน คำถามสำคัญก็คือว่างานวิจัยที่มีอยู่เป็นร้อยเป็นพันเรื่อง เวลาเข้าไปอยู่ในชุมชน มันไม่เห็นผล หรือแทบจะไม่เห็นแม้แต่ร่องรอยของมันเลยแม้แต่นิดเดียว ชาวบ้านก็ดำเนินชีวิตไปตามปกติ ไม่ว่าเป็นเรื่องการจัดการขยะ การบำบัดน้ำเสีย หรือเรื่องอะไรต่อมิอะไรอีกหลายเรื่องที่งานวิจัยสนับสนุนอยู่ มันไม่เห็นในชุมชนแม่แต่เรื่องเดียว ไปหลายที่ เพราะเจตนาก็คือว่าจะไปดูว่าเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วจะทำอะไรกับชุมชนได้บ้าง แล้วมันหาไม่เจอ
พอไม่เห็นก็มาคุยกัน ทำอย่างไรจะให้งานวิจัยมันมีประโยชน์กับชุมชน มันก็จะมีรูปแบบงานวิจัยที่เป็นพื้นฐานอยู่แล้วคือ PAR เราก็วางฐานงานวิจัยในแบบใหม่ก็คือ ถ้าอย่างนั้นก็ดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ทำวิจัยในลักษณะที่มี Action คือ การทดลอง ก็ยังติดว่าโจทย์มันไปจากเรา บางเรื่องน่าจะทำแบบนี้ เพียงแต่ดึงชุมชนเข้ามาร่วมและลองปฏิบัติการดู เพราะฉะนั้นงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในช่วงแรก ๆ ก็จะเป็นรูปแบบ par โดยมีนักวิชาการจากข้างนอกที่มีบทบาทสูงเวลาเข้าชุมชน โจทย์ที่ขึ้นก็เป็นความคิดเห็นจากตัวนักวิชาการว่าน่าจะทำเรื่องนั้น เรื่องนี้ หรือเรื่องอะไรบ้าง ก็ไปชวนชุมชนทำ และมันก็เป็นโครงการที่ให้ทุน เพราะตอนนั้นเราก็ยังไม่รู้ว่ามันมีอะไรดีกว่านี้มันก็ขยับไปอีกก้าวหนึ่ง ก็คือการดึงเอาชุมชนเข้ามามาส่วนในงานวิจัย ตั้งแต่ตั้งโจทย์ มันก็ยังดีกว่าตรงที่ว่าโจทย์ไปจากนักวิชาการ แล้วเขาไปเก็บข้อมูล หรือให้ชาวบ้านช่วยเก็บให้หน่อย
นี่คือที่มาว่าทำยังไงจะให้งานวิจัยเข้าถึง และเป็นประโยชน์กับชุมชน
ใช่ ตอนนั้น ตอนที่ลงชุมชน เราก็คิดกันในพื้นที่ แล้วก็กลับมาคิดกันที่คณะเกษตรฯ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) เอาผู้รู้มาสองสามคน มาช่วยกันคิด ตอนนั้นระเบียบวิธีที่เรารู้จัก คือ PAR เราก็เอารูปแบบนั้นมาใช้ มีผม ท่านอาจารย์อาวรณ์ (รองศาสตราจารย์ ดร.อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ที่ได้สำทับว่า “วิธีการที่เราใช้อยู่มันใหญ่เกินกว่าที่ชุมชนจะเอามาใช้ได้ ตั้งแต่วิธีการตั้งโจทย์ วิธีการหาคำตอบ หมายถึงวิธีการที่นักวิชาการใช้อยู่มันไม่สามารถใช้กับชาวบ้านได้ เพราะโจทย์ของชาวบ้านอาจจะมากจากการตั้งวงเล็ก ๆ คุยกัน ปัญหาก็เป็นปัญหาที่เห็น ๆ กันอยู่ อาจจะออกมาเป็นโจทย์เล็ก ๆ ในชุมชน ที่นี้นักวิชาการมักจะตั้งโจทย์ใหญ่ ๆ ก็ลองให้ทุนไป มันก็มาหลาย ๆ โครงการ จากนั้นก็พยายามลงลึกไปเรื่อย ๆ จากปี หรือ 2 ปีแรกก็จะเริ่มเห็นสัดส่วนของโจทย์ที่ชุมชนคิดเองมากขึ้น อาจจะเป็นโจทย์ประเภทที่นักวิชาการไม่ค่อยสนใจ หรือเป็นโจทย์พื้น ๆ ตรงนั้นเราก็เริ่มเห็นว่าโจทย์ดี ๆ มันมาจากไหน จากนั้น งานชาวบ้านก็เริ่มโผล่ออกมาเรื่อย ๆ อาจเป็นเพราะเราไปพื้นที่บ่อยขึ้น เราไปคุยกับชาวบ้านเยอะขึ้น เพราะไม่เคยพอใจกับสิ่งที่มีอยู่แล้ว ผมว่ามันต้องมีอะไรดีกว่านี้ เราก็หาไปเรื่อย ๆ แต่ขณะเดียวกันเราก็ไม่ได้รอ เราก็ให้ทุนนักวิชาการทำงานอยู่ แล้วมันก็ค้นพบ
นี่คือที่มาว่าทำยังไงจะให้งานวิจัยเข้าถึง และเป็นประโยชน์กับชุมชน
ใช่ ตอนนั้น ตอนที่ลงชุมชน เราก็คิดกันในพื้นที่ แล้วก็กลับมาคิดกันที่คณะเกษตรฯ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) เอาผู้รู้มาสองสามคน มาช่วยกันคิด ตอนนั้นระเบียบวิธีที่เรารู้จัก คือ PAR เราก็เอารูปแบบนั้นมาใช้ มีผม ท่านอาจารย์อาวรณ์ (รองศาสตราจารย์ ดร.อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ที่ได้สำทับว่า “วิธีการที่เราใช้อยู่มันใหญ่เกินกว่าที่ชุมชนจะเอามาใช้ได้ ตั้งแต่วิธีการตั้งโจทย์ วิธีการหาคำตอบ หมายถึงวิธีการที่นักวิชาการใช้อยู่มันไม่สามารถใช้กับชาวบ้านได้ เพราะโจทย์ของชาวบ้านอาจจะมากจากการตั้งวงเล็ก ๆ คุยกัน ปัญหาก็เป็นปัญหาที่เห็น ๆ กันอยู่ อาจจะออกมาเป็นโจทย์เล็ก ๆ ในชุมชน ที่นี้นักวิชาการมักจะตั้งโจทย์ใหญ่ ๆ ก็ลองให้ทุนไป มันก็มาหลาย ๆ โครงการ จากนั้นก็พยายามลงลึกไปเรื่อย ๆ จากปี หรือ 2 ปีแรกก็จะเริ่มเห็นสัดส่วนของโจทย์ที่ชุมชนคิดเองมากขึ้น อาจจะเป็นโจทย์ประเภทที่นักวิชาการไม่ค่อยสนใจ หรือเป็นโจทย์พื้น ๆ ตรงนั้นเราก็เริ่มเห็นว่าโจทย์ดี ๆ มันมาจากไหน จากนั้น งานชาวบ้านก็เริ่มโผล่ออกมาเรื่อย ๆ อาจเป็นเพราะเราไปพื้นที่บ่อยขึ้น เราไปคุยกับชาวบ้านเยอะขึ้น เพราะไม่เคยพอใจกับสิ่งที่มีอยู่แล้ว ผมว่ามันต้องมีอะไรดีกว่านี้ เราก็หาไปเรื่อย ๆ แต่ขณะเดียวกันเราก็ไม่ได้รอ เราก็ให้ทุนนักวิชาการทำงานอยู่ แล้วมันก็ค้นพบ
สมัยนั้นเราไปสร้างความมั่นใจ ให้ชาวบ้านได้อย่างไร เพราะมันยังมีความเชื่อฝั่งลึกว่า ชาวบ้านจะทำวิจัยได้เหรอ
เราพบตั้งแต่ตอนแรกเลยว่าไม่ต้องใช้คำว่าวิจัยก็ได้ แล้วก็ไปคุยกันว่า ปัญหามันมีอะไรบ้างที่อยากจะลองแก้กันดูมั๊ย ลองเช็คดูซิว่าใครรู้อะไรบ้าง แทบจะไม่ต้องพูดคำว่าข้อมูลออกมาด้วยซ้ำ — เช่นเรื่องเด็กติดยา ติดกี่คน ทำไมถึงติด มีใครติดบ้าง ใครรู้ นั่นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราเรียนรู้ว่าหน้าที่พี่เลี้ยง ไม่ต้องไปคิดแทน เพียงแค่ตั้งคำถาม แล้วคำถามก็จะนำไปสู่แผนงาน
และเราจะเชื่อมั่นได้อย่างไรว่า “ชาวบ้าน” ทำวิจัยได้
เรายังไม่คาดหวังว่าชาวบ้านจะทำได้หรือไม่ได้ แต่ต่อมาเราก็พบว่าชาวบ้านสามารถเป็นนักวิจัยได้ บ้านสามขานี่เป็นการค้นพบว่า โครงการแบบนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าเขาไม่มีทุนเดิมอยู่แล้ว แล้วหนานชาญหรือชาวบ้านที่นั่นเขาก็ผ่านการทำงานกันมาค่อนข้างหนัก เพียงแต่เข้ามาเจอวิธีแบบที่เรียกว่า “งานวิจัย” ที่ไปตรงจริต และเข้าใจว่าสามารถแก้ปัญหาให้พวกเข้าได้ ก็คล้าย ๆ กับโครงการแพรกหนามแดงของคุณปัญญา หรืออื่น ๆ ที่เขามีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหากันมาแล้ว เครื่องมือนี้ก็จะเป็นประโยชน์ มันก็เป็นอีกข้อค้นพบหนึ่ง ว่า โครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ถ้าจะเริ่มได้ และเข้าถึงแก่นจริง ๆ ชาวบ้านต้องมีทุนเดิม ต้องทำงานมาเยอะพอสมควร เป็นนักแก้ปัญหา เค้าแก้ปัญหามีเรื่อย ๆ จนมาพบว่างานวิจัยเพื่อท้องถิ่นนี้เป็นเครื่องมือที่ดีในการจัดการแก้ปัญหา ซึ่งพอเราทำซัก 2 ปี เราก็เห็นข้อเปรียบเทียบว่างานที่นักวิชาการเข้าไปทำ กับงานที่ชาวบ้านคิด มันต่างกันเยอะ
ดังนั้น ในช่วงเริ่มต้น 4 – 5 ปีแรก เราค่อย ๆ เทนำหนักไปที่งานชาวบ้านมากขึ้น นักวิชาการรอก่อน งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นมันดีอย่างหนึ่งตรงที่ว่ามันเกิดขึ้นเป็นหน่วยงานเล็ก ๆ แล้วก็เทียบกับ สกว.ทั้งหมดแล้วงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นนั้นเล็กนิดเดียว เพราะฉะนั้นเราก็มีเวลาที่จะค่อย ๆ ทำ ไม่มีใครมาเร่งเราว่าเมื่อไหร่จะเกิดผลซักที เมื่อไหร่จะมีจำนวนโครงการเท่านั้น เท่านี้ นี่เป็นจุดเด่นมากของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่เกิดขึ้นอย่างเงียบ ๆ และค่อย ๆ โตขึ้นอย่างเงียบ ๆ เพราะไม่มีใครมาจี้ และเราก็ไม่พยายามที่จะชูว่า ดีอย่างไร หรือ เรียกให้คนนั้นคนนี้มาดูว่างานเราดีแบบไหน
คำว่าวิจัยเพื่อท้องถิ่นมันออกมายังไง
ตอนนั้นแรก ๆ ก็เรียกกันหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยแบบมีส่วนร่วม งานวิจัยชุมชน และคนที่ให้คอนเซปต์คนสำคัญเลยก็คตือท่านอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ท่านบอกว่า ชุมชนมันอยู่โดด ๆ ไม่ได้มันต้องเป็นท้องถิ่น เพราะท้องถิ่นมันต้องประกอบไปด้วยหลาย ๆ ชุมชนที่แชร์อะไรบางอย่างร่วมกันไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำ ที่ดินหรือความเชื่อ เช่นวัด เจ้าพ่อ มันก็เลยมีคำสำคัญคือคำว่า “ท้องถิ่น” อยู่ด้วย คิดไปก็คิดมาก็ไปเติมคำว่า “เพื่อ” เข้าไป แค่นี้ก็จบ — คือเราไม่อยากไปตีกรอบว่าเป็นงานวิจัยที่ทำโดยชุมชน เพราะว่าชุมชนอาจจะไม่ปฏิเสธความช่วยเหลือจากข้างนอกก็ได้ตราบใดที่เขายังต้องการความช่วยเหลือ ก็เลยเอาคำว่า “เพื่อท้องถิ่น”
ที่นี้ก่อนหน้านั้นมันก็มีคำถามว่า “งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” ต่างจากงานฝ่าย 4 คืองานชุมชนอย่างไร จุดต่างน่าจะอยู่ตรงที่ วิจัยเพื่อท้องถิ่นขึ้นไปจากข้างล่าง คำถามหรือโจทย์มาจากชุมชน ขณะที่งานของฝ่าย 4 เน้นงานวิชาการเป็นส่วนใหญ่ 2 อันนี้อาจจะลงชุมชนเดียวกันก็ได้
ตอนนั้นอาจารย์วางเส้นทางของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นไว้อย่างไร
ความคิดผมก็คือ เราไม่น่าจะทิ้งจุดแข็งของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นคือการทำงานเล็ก ๆ ให้ลึก แต่เราเพิ่มจำนวนให้มากขึ้นพอที่จะเป็นพลังในพื้นที่ได้มากกว่าการยกระดับขึ้นมาให้เป็นโจทย์ใหญ่แล้วผลักสู่นโยบาย แต่เราควรยื่นยันแบบเดิม แบบเดิมหมายความว่า ทำกับชุมชนหรือในหมู่บ้าน แต่ทำอย่างลึก อย่างชัด และคนที่อยู่ในชุมชนเป็นคนทำ มากกว่าที่จะเอางานวิจัยที่มีอยู่แล้วไปขยายหรือทำนโยบาย หรือว่าทำงานกับใครต่อใครที่เป็นโจทย์ใหญ่ เพราะการจะผลักงานให้ไปถึงข้างบนได้เราต้องมีกำลังที่มากพอ หรืออาจจะทำคู่ขนานกันไป ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิด ซึ่งเราอาจจะถอดสิ่งที่ทำมา หรือ เชื่อมโยงสิ่งที่ทำมาเข้าไปในระบบใหญ่ อีกอย่างหนึงกลับไปที่จำนวน ผมมีความเชื่อว่างานแบบนี้มันจะพลิกสถานการณ์ได้ถ้ามีจำนวนมากพอในพื้นที่ ถ้าดูจำนวนหมู่บ้านในประเทศไทยจำนวน 80,000 หมู่บ้าน ถ้าตั้งเป้าซัก 5 % หรือ 4,000 หมู่บ้าน ที่ไม่ใช้ 4,000 โครงการ ก็น่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรได้ และความเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดที่สุดในชุมชนคือ ความสามารถในการที่เลือก หรือไม่เลือกรับความช่วยเหลือตามที่คิดว่าเหมาะสม นี่คือสิ่งสำคัญ เพราะความสามารถในการเลือกที่จะปฏิเสธบางอย่าง เป็นความสามารถที่ไม่ง่าย โดยเฉพาะเงิน – เพราะคนที่ปฏิเสธเป็น แสดงว่ามองยาว เราต้องเข้าใจว่า ตัวเองเป็นอย่างไร แล้วต้องการจะไปทางไหน เหมือนโครงการที่บ้านดง จังหวัดจะให้ล้าน หนึ่ง แต่แกเอาแสนเดียว นี่คือความสามารถในการปฏิเสธที่ตั้งอยู่บนฐานของศักยภาพตัวเอง กรณีแบบนี้ชาวบ้านรู้สึกว่าแค่นี้ก็พอแล้ว หรือกรณีบ้านผาหมอนที่ปฏิเสธการสนับสนุนจากโครงการท่องเที่ยว
งานท้องถิ่น เป็นงานทีเรียกว่า “งานสร้างฐานรากของประเทศ” เพราะหากฐานรากดี เราจะทำอะไรก็ได้ เพราะว่าฐานที่แข็งแรง เข้มแข็ง จะปลูกศาลา จะสร้างตึก หรือจะทิ้งไว้เป็นสนามหญ้าก็ แล้วแต่ แล้วมันจะเป็นทางเดียวทีทำให้เกิดหลาย ๆ อย่างที่คนกำลังพูดถึงเช่นเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องของการสร้างสังคมความรู้ หรือว่าเรื่องของประชาธิปไตยจากรากหญ้า พวกนี้มันมีฐานอยู่บนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เพราะเป็นงานแบบมีส่วนร่วม ให้คนคิด ตัดสินใจด้วยเหตุผล และข้อมูล เพราะถ้าทำได้มันก็ต่อไปจนถึงระบอบประชาธิปไตยทีมีผู้ออกเสียงที่มีศักยภาพ หรือเลือกเศรษฐกิจที่ตัวเองอยากทำได้ เช่นนำมันแพง ก็รู้ว่าตัวเองควรจะเลือกทางไหน หรือควรจะไปทางไหน
รู้สึกอย่างไรที่งานวิจัยเพือท้องถิ่นเดินทางมาได้จนถึงวันนี้
อันแรกรู้สึกภูมิใจแน่นอน และสอง ก็รู้สึกด้วยว่าเราเริ่มต้นด้วย “เราไม่รู้” เรายอมรับว่าเราไม่รู้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่มันเกิดขึ้นในห้วงเวลาที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการทำงานหรืออะไรก็แล้วแต่นั้น ชาวบ้านมีส่วนในการคิดแทบทั้งนั้นเลย โดยเฉพาะรูปแบบที่มันเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ นั้นมันเกิดจากการทำงานจริง ๆ และเราไม่ปฏิเสธความเปลี่ยนแปลง เราเห็นว่ามันเป็นแบบนี้ดีแล้ว และเราก็หนุนให้ชาวบ้านทำงานต่อ—เราทำงานในลักษณะที่ไม่มีความคิดไปกำกับ เราไม่มีทฤษฎีเดียวไปกำกับว่าต้องทำแบบไหน อย่างไร และนี่เป็นข้อสำคัญมากในการทำงานคือ “บริหารโดยไม่ต้องบริหาร” ซึ่งจริง ๆ แล้วยากมาก (เพราะต้องคิดตลอดเวลา….) และยืนยันได้เลยว่าอะไรที่เราเข้าไปทำงานเอง มันมักจะไม่ประสบความสำเร็จ อะไรที่ชาวบ้านทำมันมักจะไปได้ นี่คือข้อสรุปที่น่าสนใจ แต่ชุมชนที่ทำต้องเข้าใจความรู้สมัย และต้องทำความเข้าใจด้วยว่าไม่สามารถจะอยู่ได้ตลอดไปโดยใช้ภูมิปัญญาเดิมที่มีอย่างเดยว เพราะฉะนั้นหลายชุมชนเริ่มพบว่า การแก้ปัญหาโดยชุมชนเองถึงจุดนึงแล้วมันต้องการคนนอกเข้ามาช่วย นี่ก็จะเป็นอีกจุดหนึ่งที่สำคัญมากของการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นคือการเชื่อมโยงกับเทคโนโลยี่และคำตอบสมัยใหม่ แต่เอามันมาเป็นเครื่องมือเพื่อตอบคำถามของชาวบ้าน อย่าให้เทคโนโลยี่มากำหนดว่าจะต้องไปทางไหน หมายความว่า ชาวบ้านมีคำถาม และเอาเทคโนโลยี่มาตอบ เช่นถามว่าจะจัดการชายฝั่งอย่างไร ทำอยางไรให้ทรัพยากรชายฝั่งมีอุดมสมบูรณ์เหมือนเดิม ภูมิปัญญาก็อาจจะเป็นอีกส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งมันอาจจะต้องการความรู้ทางประมง หรือสัตว์นำอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกัน เพราะว่าสถานการณ์ปัจจุบันมันไม่เหมือนอดีต แต่ก่อนชายฝั่งมันอาจจะอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง ตอนนีมันมีปัญหาเข้ามาเยอะแยะ และต้องการความรู้สมัยใหม่เข้ามาช่วย นี่ก็เป็นอีกขั้นหนึงของงานวิจัยพื่อท้องถิ่นที่ต้องใช้เทคโนโลยี่สมัยใหม่ มาเอื้อประโยชน์ได้อย่างไร ใช้มันเป็นเครื่องมือที่ดี
ชาวบ้าน ชุมชนและพี่เลี่ยง ต้องทำงานของตัวเองให้แม่น คือรู้จักชุมชนดี ทางหนึ่งต้องเงี่ยหูฟังว่าข้างนอกมันมีอะไรบ้าง มันมีเทคโนโลยีอะไรที่ต้องเอามาใช่ได้ มันต้องทำทั้ง 2 อย่าง พี่เลี่ยงไหนที่หมกมุ่นกับงานของตัวเองหรือจังหวัดของตัวเองอย่างเดียว ในที่สุดมันก็จะตัน เพราะมันก็แก้ปัญหาได้จำนวนหนึ่งซักพักมันก็จะติด ในขณะที่มันอาจจะมีคำตอบอยู่ที่อื่น
เรื่อง: เมษ์ ศรีพัฒนาสกุล
Design Thinking คือกระบวนการคิดสร้างสรรค์ที่เน้นทำความเข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับปัญหาหลากหลายด้าน
ผู้เขียนและเพื่อนๆ ในกิจการเพื่อสังคม Asian Leadership Academy (ALA) ได้ทดลองนำกระบวนการ Design Thinking ไปใช้กับโจทย์ปัญหาสังคมในบริบทต่างๆ ผ่านโครงการ “REDESIGN” จึงขอนำประสบการณ์ในมุมเพื่อสังคมมาเล่าสู่กันฟัง เผื่อจะเป็นข้อคิดให้ทุกคนนำไปทดลองกับบริบทการทำงานของตัวเอง
โครงการที่พวกเราไปทดลองทำมีด้วยกัน 3 โครงการ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายแตกต่างกันไป
“Redesign-EDU” – โครงการสร้างครูนักออกแบบ:
เรามักจะพูดเสมอว่าการศึกษาของประเทศไทยต้องเปลี่ยนแปลง หนึ่งในกลุ่มคนที่จะเป็น “Changemaker” หรือ “ผู้นำการเปลี่ยนแปลง” ที่ดีที่สุดในเรื่องการศึกษาคือ “กลุ่มคุณครู” ที่ทำงานใกล้ชิดและเข้าใจการเรียนรู้ของนักเรียน
Design Thinking เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณครูสามารถออกแบบการเรียนการสอนอย่าง “นักออกแบบ” โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน เน้นส่งเสริมให้กล้าทดลอง ออกแบบ และพัฒนาการเรียนการสอนแบบใหม่ๆ
หนึ่งในตัวอย่างที่ประทับใจคือ “โรงเรียนบ้านขุนแปะ” จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีความคิดก้าวหน้าอยากปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนให้เป็นแบบบูรณาการ เน้นให้เรียนผ่าน “โปรเจกต์” ต่างๆ มากขึ้น ความท้าทายของแนวคิดนี้คือ ต้องสร้างความมั่นใจและทำให้นักเรียนรวมทั้งผู้ปกครองยอมรับ เพราะมีพ่อแม่จำนวนมากที่ไม่แน่ใจว่าการเรียนการสอนแบบบูรณาการเป็นอย่างไร และจะทำให้ลูกๆ เรียนได้ดีพอที่จะไปแข่งขันกับเด็กคนอื่นที่เรียนแบบเดิมๆ ได้หรือไม่
เราเดินทางขึ้นดอยกว่า 3 ชั่วโมง เพื่อไปพบกับคุณครูของโรงเรียนบ้านขุนแปะที่ปิดโรงเรียนในวันนั้นเพื่อมาเรียน Design Thinking กับเราที่อุโบสถของวัดใกล้โรงเรียน (เพราะโรงเรียนไม่มีพื้นที่พอจะจัดเวิร์กช็อป) เราแนะนำวิธีทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ชี้ให้คุณครูมองปัญหาต่างๆ ในมุมของนักเรียนและผู้ปกครองมากขึ้น พร้อมทั้งระดมสมองแก้ปัญหาร่วมกัน
หลังจากเข้าใจถึงความกังวลของนักเรียนและผู้ปกครอง คุณครูหลายคนเสนอต้นแบบการเรียนการสอนที่ดึงผู้ปกครองและนักเรียนให้เข้ามามีส่วนร่วมออกแบบหน่วยการสอน และเสนอให้นำกระบวนการ Design Thinking มาใช้ต่อเนื่องในกระบวนการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่ทำให้คุณครูในโรงเรียนหันมาแลกเปลี่ยนความเห็น และร่วมกันแก้ปัญหาเพื่อเปลี่ยนการเรียนการสอนให้ทันสมัยขึ้น
Redesign-Tourism:
ปลายปีที่แล้ว เราลองนำ Design Thinking มาส่งเสริมโครงการพัฒนาชุมชนร่วมกับกิจการเพื่อสังคมด้านการท่องเที่ยว “Local Alike” โดยลองเข้าไปแนะนำกระบวนการนี้กับกลุ่มเด็กๆ และผู้ใหญ่ในชุมชนคลองเตย
เราทดลองพานักท่องเที่ยวที่มีความต้องการหลากหลายมาพบชาวบ้านในชุมชน ให้ชาวบ้านได้พูดคุยและซักถามถึงรสนิยมและความชอบในการท่องเที่ยว เพื่อออกแบบการท่องเที่ยวในชุมชนคลองเตย รวมไปถึงกิจกรรมในชุมชนที่ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวมากขึ้น
การลงพื้นที่ครั้งนี้ทำให้พวกเรารู้ว่า Design Thinking มีประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนในหลากหลายมิติ
ในมุมหนึ่ง Design Thinking ส่งเสริมให้คนในชุมชนหันหน้ามาช่วยกันคิดและออกแบบชุมชนการท่องเที่ยวเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตร่วมกัน การรวมกลุ่มระดมสมองยังทำให้ได้รับความเห็นหลากหลายจากคนในชุมชน เช่น เด็กๆ หรือผู้สูงอายุ เป็นวิธีสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมและรู้สึกเป็นเจ้าของ หรือ “Sense of Ownership” ร่วมกันในการพัฒนาชุมชน
ในอีกมุมหนึ่ง Design Thinking สามารถนำไปใช้ได้โดยตรงกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่นนั้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือเพิ่มมูลค่าสินค้าที่มีอยู่แล้วให้เป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น
Redesign Healthcare:
หลังจากเข้าใจความต้องการของ “นักเรียน” และ “นักท่องเที่ยว” แล้ว เราจึงหันมาทดลองสร้างสรรค์นวัตกรรมในวงการ “สุขภาพ” ร่วมกับธุรกิจ Health Tech Startup ที่มีชื่อว่า “iamdr” โดยเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจ “คนไข้”
อันที่จริงกระบวนการ Design Thinking เป็นที่มาของผลิตภัณฑ์หลายๆ อย่างที่เพิ่มประสิทธิภาพของบริการทางสาธารณสุขในระดับสากล ตัวอย่างเช่น ที่ Stanford d.school กระบวนการ Design Thinking มีส่วนช่วยออกแบบถุง “Embrace” ถุงยังชีพทารกในประเทศโลกที่สาม หรือกรณีของ Mayo Clinic ซึ่งใช้กระบวนการนี้ออกแบบตู้ตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ (“healthspot”)
นอกจากการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กระบวนการ Design Thinking ยังสามารถนำไปใช้ได้ในฝั่ง Healthcare หรือการดูแลสุขภาพ โดยออกแบบบริการ (Service Design) เช่น ลดเวลารอคิวในโรงพยาบาล หรือออกแบบประสบการณ์ (Experience Design) เช่น ออกแบบประสบการณ์การตรวจร่างกายให้ดูไม่น่ากลัวสำหรับเด็กๆ
เรากำลังทดลองหาช่องทางนำแนวคิด Design Thinking ไปแลกเปลี่ยนกับบุคลากรทางสาธารณสุขในแง่มุมต่าง ๆ โดยหวังว่ากระบวนการคิดที่เน้นทำความเข้าใจ “คนไข้” จะเป็นเครื่องมือที่ยกระดับคุณภาพของบริการสาธารณสุขให้ดีขึ้นได้
ทั้ง 3 โครงการที่ยกมาเป็นเพียง “ตัวอย่างเล็ก ๆ” ที่เล่าถึงการนำ Design Thinking ไปใช้เท่านั้น ที่จริงแล้วการแก้ปัญหาสังคมก็ไม่ได้ต่างอะไรกับการแก้ปัญหาธุรกิจ ที่มักมีปัญหาซับซ้อนและมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากมาย
ในมุมของผู้ถ่ายทอดกระบวนการ เสน่ห์และประโยชน์ของกระบวนการนี้คือ การนำกลุ่มคนหลากหลายที่ล้วนมีส่วนได้ส่วนเสียกับปัญหานั้น ๆ มาแก้ไขปัญหาร่วมกัน จนเกิดเป็น “นวัตกรรมหมู่” เป็น Collaborative Innovation ที่ทำให้เกิดทางออกที่ตอบโจทย์ตาม “ข้อจำกัด” ในระบบ
บ่อยครั้งเราพยายามแก้ปัญหาจาก “ด้านบน” โดยอาศัยความเข้าใจที่เรามีเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ทว่าหากไม่ลองลงไปทำความเข้าใจปัญหาหรือกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการช่วยอย่างใกล้ชิด
เราก็คง “เกาไม่ถูกที่คัน”
106/1 หมู่ที่ 7 ตำบลปลายโพงพาง อำเภออัมพวา
จังหวัดสมุทรสงคราม 75110
034-732388
[email protected]