เลข2ตัวที่คนทำงาน (วิจัยเพื่อท้องถิ่น) ต้องรู้ !! …ต้องบอกก่อนว่านี่ไม่ใช่การใบ้หวยแต่อย่างใด … #แต่นี่คือ!! ข้อค้นพบจากการหนุนเสริมการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น กับกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย เป็นสหสาขาวิชาชีพ ทั้ง ชาวบ้าน หน่วยงานรัฐและเอกชน ผู้นำท้องถิ่น/ท้องที่ เจ้าหน้าที่ สถานศึกษา ฯลฯ ซึ่งจากการถอดรหัสการทำงานดังกล่าวทำให้พบว่า มี #8ความแตกต่าง และ #4หัวใจสำคัญ ที่เป็นส่วนที่ช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง…
8 ความต่าง ในการขับเคลื่อนโครงการกับงานปกติ
- การ การมีส่วนร่วม : ในที่นี้หมายถึงการมีส่วนร่วมแบบแท้คือยึดหลัก เพื่อ โดย ของ เป็นสำคัญ
- กระบวนการวิจัย : ดำเนินโครงการผ่านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่มีกระบวนการ มีขั้นตอน
- เทคนิค-เครื่องมือ : เน้นความสัมพันธ์ / ข้อมูล / การพัฒนาศักยภาพ
- การสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ : ทุกคนเป็นเจ้าของโครงการและมีเป้าหมายปลายทางร่วมกัน
- การจัดพื้นที่การเรียนรู้ : เน้นสร้างสภาวะที่เอื้อต่อการคิดใหม่ ทำใหม่
- การสร้างความเชื่อมั่น การเสริมพลังทางปัญญา และทักษะ
- การวัดและประเมินผล : มีการประเมินผ่านการสรุปบทเรียนหลังการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
- บทบาทเจ้าหน้าที่ / แกนนำ : เปลี่ยนจากคนสั่งการเพียงอย่างเดียว มาเป็นพี่เลี้ยง แนะนำ สนับสนุน ให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน
4 หัวใจสำคัญ ในการขับเคลื่อนโครงการให้สำเร็จ
- กระบวนการ
- มีการค้นหาและเตรียมคนที่มีใจ
- การอบรมเชิงปฏิบัติการ
- เวทีสร้างความเข้าใจ
- เวทีประวัติศาสตร์และเรื่องราวชุมชน
- การประชุมเครือข่าย/ขยายเครือข่าย ในและนอกพื้นที่ (พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้)
- มีการสรุปบทเรียนอย่างต่อเนื่อง
- เทคนิค-เครื่องมือ
- ประวัติศาสตร์ชุมชน
- ปฏิทินชุมชน
- แผนที่ชุมชน
- เกมการเรียนรู้และความสัมพันธ์
- กิจกรรมเช็คอิน
- งานวิจัย
- การระดมความคิด
- การจัดเวทีชุมชน
- ความสัมพันธ์ : ไม่รีบกระโจนเข้าเนื้อหาหรือประเด็นที่เราอยากได้ข้อมูล แต่จะเน้นการสร้างความคุ้นเคย ความเชื่อใจ และความสัมพันธ์ กับคนในพื้นที่ก่อน
- ข้อมูลและความรู้ : มีการเก็บและใช้ประโยชน์จากข้อมูลโดยคนในชุมชนเอง และมีการเติมความรู้เฉพาะบางประเด็นจากภายนอก